ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัสดุตีพิมพ์ และ วัสดุไม่ตีพิมพ์ แต่ละประเภทแบ่งย่อยได้ดังนี้
วัสดุตีพิมพ์
วัสดุตีพิมพ์
คือ
วัสดุที่บันทึกความรู้ในรูปแบบการพิมพ์เป็นตัวหนังสือเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยการอ่าน
ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสาร และ
กฤตภาค
1. หนังสือ
คือวัสดุที่บันทึกความรู้โดยการพิมพ์เป็นตัวหนังสือ
เป็นรูปเล่มถาวร อาจมีเล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบ ให้ความรู้สาขาต่าง ๆ
เป็นความรู้ทั่วไปหรือเป็นความรู้ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและเพื่อความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน
ได้แก่ แบบเรียน หนังสือเสริมความรู้ สารานุกรม
นิทาน นิยาย เป็นต้น
การจัดเก็บหนังสือของห้องสมุดโรงเรียนส่วนใหญ่ มีการจัดไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า โดยจัดหมู่หนังสือตามระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมของดิวอี้ ซึ่งชาวอเมริกันชื่อ เมลวิล ดิวอี้
เป็นผู้คิดค้นขึ้น
ห้องสมุดโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม
ขั้นตอนการขอรับบริการ
1.นักเรียนไปที่เครื่องสืบค้น มีบริการนักเรียนที่มุมอินเทอร์เน็ต
ปฏิบัติตามลำดับการสืบค้นจนนักเรียนได้หนังสือที่ต้องการ หรือถ้านักเรียนค้นหาหนังสือได้ที่ชั้นหนังสือ
ก็ให้นักเรียนหยิบหนังสือไปให้บรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์ยืม – คืน ได้เลย
2.ให้นักเรียนนำหนังสือพร้อมบัตรสมาชิกห้องสมุด มาให้ครูบรรณารักษ์หรือนักเรียนช่วยงานห้องห้องสมุดที่เคาน์เตอร์ยืม
– คืน
3.บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ช่วยงานห้องสมุดจะบันทึกการยืมหนังสือด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติแล้วประทับวันกำหนดส่งหนังสือให้นักเรียนทราบ
4.เมื่อนักเรียนอ่านหนังสือเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำหนังสือมาคืนตามวันเวลาที่กำหนด
ขั้นตอนการขอใช้บริการหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง ได้แก่
สารานุกรม พจนานุกรม ให้ใช้ได้เฉพาะภายในห้องสมุดเท่านั้น
ถ้านักเรียนต้องการค้นคว้า นักเรียนสามารถติดต่อครูบรรณารักษ์ โดยแสดงบัตรสมาชิกห้องสมุด
เพื่อบันทึกการขอใช้บริการ หลังจากนั้นนักเรียนนำหนังสือ ออกไปถ่ายเอกสารได้
มีบริการถ่ายเอกสารให้นักเรียนบริเวณข้างห้องสมุดเมื่อถ่ายเอกสารเสร็จแล้วให้นักเรียนนำหนังสือมาคืนที่ครูบรรณารักษ์เพื่อให้นักเรียนคนอื่นๆได้ใช้ต่อไป
2.วารสาร เป็น สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายหนังสือ คือ
บันทึกความรู้โดยการพิมพ์แต่มีกำหนดระยะเวลาการออกแน่นอนและต่อเนื่องภายใต้ชื่อเรื่องเดียวกัน
ให้ข้อมูลเนื้อหาที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
เช่น ออกเป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์(15วัน)
รายเดือน รายครึ่งปี มีทั้งที่เป็นวิชาการ และที่เน้นความบันเทิง เช่น ขวัญเรือน สารคดีสกุลไทย สุดสัปดาห์
เป็นต้น
ที่มาของรูป ห้องสมุดประชาชนป่าติ้ว ยโสธร
http://lrls.nfe.go.th/LRLS/frontend/theme/view_page.php?ID_Page=10916
นักเรียนสามารถใช้วาสาร เพื่อการศึกษาค้นคว้า เพราะวาสารเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้
ความคิด เจตคติ และประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการ สถาบันการศึกษาและบุคคลทั่วๆไป ใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียน
เช่น ใช้อ่านประกอบวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ ใช้อ้างอิงในการทำรายงาน
เป็นต้น นอกจากนี้แล้ววาสารยังให้ความบันเทิง
วารสารบางฉบับ นอกจากเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้ทางวิชาการ แล้วยังมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านอีกด้วย
ขั้นตอนการขอใช้บริการวาสาร
เนื่องจากวารสารเป็นสิ่งพิมพ์ให้ใช้เฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น เมื่อนักเรียนต้องการศึกษาเนื้อหาสาระที่อยู่ในวารสารเล่มนั้น นักเรียนสามารถยืมวารสารออกไปถ่ายเอกสารได้เช่นกัน โดยติดต่อครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
เพื่อขออนุญาตนำออกไปถ่ายเอกสาร
3.หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำเสนอด้วยตัวอักษร และรูปภาพ
ที่พิมพ์ออกรายวัน เสนอข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
นอกจากนี้ยังมีบทความและข้อคิดเห็นต่างๆ ในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ กีฬา การศึกษา เช่น
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์มติชน
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เป็นต้น เป็นสิ่งพิมพ์ที่รายงานข้อเท็จจริงและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
ในแต่ละวัน รวมทั้งเนื้อหาสาระอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนการโฆษณา
มีวาระการวางจำหน่ายที่แน่นอน แต่เดิมนิยมจำหน่ายเป็นรายวัน ปัจจุบันหนังสือพิมพ์รายสามวันก็เป็นที่นิยมของผู้อ่านมาก
การจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์จะใช้กระดาษชนิดเดียวกันตลอดเล่ม ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายโดยไม่มีการเย็บเล่ม
ที่มา หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
http://libsis.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=56470
มติชน ข่าวสด ผู้จัดการ ไทยรัฐ
เดลินิวส์ สยามรัฐ ให้บริการผู้อ่านที่มุมอ่านหนังสือพิมพ์ที่ห้องสมุด ทั้ง
2 ห้อง
นักเรียนสามารถเข้าไปขอใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้าได้
ประโยชน์จากหนังสือพิมพ์
เราสามารถนำเอาหนังสือพิมพ์มาใช้ในการเรียนได้หลายวิธีด้วยกัน
เช่น นักเรียนสามารถนำข่าวที่น่าสนใจ
ข่าวนักเรียนที่ได้รับรางวัล
จากการตั้งใจเรียนมาเล่าให้เพื่อนฟังในตอนเช้า หรือใช้อ้างอิงระหว่างบทเรียนที่เกี่ยวข้องที่ครูมอบหมายงานให้ค้นคว้า
ฯลฯ ดังนั้นเมื่อเราอ่านหนังสือพิมพ์ ให้นักเรียนนำเรื่องที่ได้อ่านเช่นเรื่องการเลือกตั้ง เรื่องราวจากชีวิตคนดีในสังคม ในหน้าข่าวสังคม
เราจะพบบทสัมภาษณ์หรือข่าวของบุคคลที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม เป็นอาสาสมัคร
มีจิตอาสา ซึ่งอาจจะเป็นผู้ใหญ่ หรือเยาวชนก็ได้ เมื่อนักเรียนอ่านแล้ว ให้จดจำคำสอนเพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของนักเรียนต่อไป
4.จุลสาร คือสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวและจบบริบูรณ์ภายในเล่ม
ความยาวไม่มากนัก เขียนอย่างง่ายๆส่วนมากแล้วเนื้อหาจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ลักษณะของจุลสารคือ มีความหนาอย่างน้อย 5 หน้า แต่ไม่เกิน
48 หน้า รูปเล่มไม่แข็งแรง
อาจเป็นแผ่นกระดาษพับไปมา อาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่เย็บเล่มแต่ใช้ปกอ่อน เป็นเล่มบางๆ มักเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้เปล่าหรือจำหน่ายในราคาถูก
โดยทั่วไปแจกเป็นอภินันทนาการ เช่น
จุลสารผักเพื่อชีวิต จุลสารการท่องเที่ยว เป็นต้น
การจัดเก็บจุลสารของห้องสมุดโรงเรียน จัดเก็บใส่แฟ้มแยกเป็นหัวเรื่องเก็บไว้ในตู้ นอกจากนี้ จุลสารมีประโยชน์เพื่อช่วยเสริมความรู้ที่นอกเหนือไปจากตำรา เป็นความรู้ใหม่ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
เช่น โรคไข้เลือดออก
โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
วิธีค้นจุลสาร
ดูที่ตู้จุลสารและกฤตภาคโดยตรงโดยเลือกหัวเรื่องที่ต้องการตามแฟ้มต่าง ๆ ซึ่งเรียงอยู่ตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่อง
หยิบจุลสารหรือหยิบทั้งแฟ้มมาอ่าน เสร็จแล้วนำกลับเข้าที่เดิม จุลสารและกฤตภาคใช้เวลาอ่านไม่นาน
จึงไม่อนุญาตยืมออกจากห้องสมุด
5.กฤตภาค อ่านว่า กริด-ตะ-พาก
เป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้จากการตัดข่าว บทความจากหนังสือพิมพ์ หรือวารสาร
และนำมาปะบนกระดาษ ให้หัวเรื่องและระบุแหล่งที่มา เนื้อหาของกฤตภาคครอบคลุม เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง
เศรษฐกิจ สังคม บุคคล
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดนตรี
การศึกษา
ห้องสมุดจัดเก็บกฤตภาคโดยใส่แฟ้มเรียงไว้ในตู้จุลสารตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง
กฤตภาค
นับเป็นสื่อการอ่านที่ให้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน มีเหตุการณ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่มีในหนังสือเลย สามารถผลิตได้ง่าย
สะดวก ประหยัด
มีประโยชน์คุ้มค่าด้วยข้อมูลที่สมบูรณ์ภายในหนึ่งเรื่อง สำหรับกฤตภาค 1
แผ่น อาจเป็นรูปภาพ ข่าว บทความ ฯลฯ
สิ่งที่ควรเก็บเพื่อจัดทำกฤตภาค
1.
ข่าว ได้แก่
ข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการศึกษา
ข่าวความเคลื่อนไหวเหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญ
ข่าวต่างประเทศ ข่าวเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ การค้นพบ การสำรวจ
หรือวิทยาการก้าวหน้าใหม่ ฯลฯ
2. เรื่องราวหรือบทความ
ได้แก่ประวัติบุคคลที่น่าสนใจ สถานที่สำคัญ เกร็ดประวัติศาสตร์ การค้นพบและการประดิษฐ์ต่างๆ
แนะนำและวิจารณ์หนังสือความรู้ทั่วไป ฯลฯ
3. ภาพ ได้แก่
ภาพบุคคลสำคัญ สถานที่สำคัญ โบราณสถาน
โบราณวัตถุ ภาพเกี่ยวกับธรรมชาติศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ ภาพแสดงวิธีการทำสิ่งของต่างๆ ภาพเหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมต่างๆ ฯลฯ
วิธีค้นกฤตภาค ดูที่ตู้กฤตภาคโดยตรงโดยเลือกหัวเรื่องที่ต้องการตามแฟ้มต่าง
ๆ ซึ่งเรียงอยู่ตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่อง หยิบจุลสารหรือหยิบทั้งแฟ้มมาอ่าน เสร็จแล้วนำกลับเข้าที่เดิม
จุลสารและกฤตภาคใช้เวลาอ่านไม่นาน จึงไม่อนุญาตยืมออกจากห้องสมุด
การนำกฤตภาค ไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการอ่าน
เสริมประสบการณ์ มีหลายรูปแบบ เช่น
จัดนิทรรศการ เกมฝึกความคิด
เชาวน์ปัญญา กิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทักษะรายวิชาต่างๆหรือนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนในชั้นเรียนซึ่งใช้ได้ทุกกลุ่มสาระ
ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น