ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ดังนี้
1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เป็นแหล่งที่มีข้อมูลข่าวสาร ความรู้
ซึ่งอยู่ภายในโรงเรียน ในการจัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของแต่ละโรงเรียน
มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับศักยภาพของโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาแหล่งเรียนรู้จะเกิดประสิทธิผลและมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อนักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้นๆ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแบ่งเป็น
1.1 แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนประเภทสถานที่
แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของโรงเรียนที่นักเรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียนห้องคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสื่อการเรียน แปลงเกษตรสวนผัก ห้องแนะแนว
ห้องพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องจริยศึกษาและห้องศิลปศึกษา เป็นต้น
ห้องสมุดโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม
1.2 แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนประเภทบุคคล
นอกจากนี้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่นักเรียนสามารถไปศึกษาหาความรู้
คือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เป็นบุคลากรในโรงเรียน ที่มีทั้งความชำนาญ
ความรู้หรือมีอาชีพเสริมรายได้ที่ทำอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู
นักการภารโรง ตลอดจนผู้เรียน รุ่นพี่หรือผู้เรียนชั้นที่สูงกว่า ซึ่งนักเรียนสามารถนำมาเชื่อมโยง
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ
เช่น โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคมของเรา มีครูที่มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะให้ความรู้กับนักเรียนหลายท่าน
เช่น ครูปิยาภรณ์ โกศัลวิตร มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ครูมงคล จันทราภรณ์ มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ครูพรหมพชร เกตดี มีความรู้ด้านวิชาภาษาไทย การทำหนังสือทำมือ ครูจักรกฤษณ์ สีสุวะ มีความรู้ด้านวิชาศิลปะ และ ครูเดชชาติ จันทราภรณ์ มีความรู้ความสามารถด้านดนตรีสากล ดนตรีพื้นบ้าน กลองยาว ฝึกสอนนักเรียนให้มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีสากลชนิดต่างๆ ตั้งเป็นวงดุริยางค์ของโรงเรียน เป็นต้น
ครูปิยาภรณ์ โกศัลวิตร ครูพรหมพชร เกตดี ครูมงคล จันทราภรณ์
2.
แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีข้อมูล
ข่าวสาร ความรู้ ซึ่งอยู่นอกโรงเรียนและในวิถีชีวิตชุมชน การจัดให้นักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้
ต้องมีการประสานความร่วมมือและมีเป้าหมายในการใช้บริการที่ชัดเจน แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นครอบคลุมทั้งด้านสถานที่ และบุคคล
2.1 แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนประเภทสถานที่ อาจอยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงกับโรงเรียน แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ได้แก่ครอบครัว ชุมชน สถานประกอบการ สถานที่ราชการ แหล่งธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สวนสาธารณะ สวนสัตว์ วัด สุเหร่า ตลาด ร้านอาหาร ห้องสมุดประชาชน สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง แหล่งทอผ้า เทคโนโลยีชาวบ้าน เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ
2.2 แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนประเภทบุคคล
2.1 แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนประเภทสถานที่ อาจอยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงกับโรงเรียน แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน ได้แก่ครอบครัว ชุมชน สถานประกอบการ สถานที่ราชการ แหล่งธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สวนสาธารณะ สวนสัตว์ วัด สุเหร่า ตลาด ร้านอาหาร ห้องสมุดประชาชน สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง แหล่งทอผ้า เทคโนโลยีชาวบ้าน เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ
แม่น้ำสองสี อำเภอโขงเจียม
สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร
2.2 แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนประเภทบุคคล
คือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคลหรือปราชญ์ชาวบ้าน
(Local Wisdom) ประกอบด้วยบุคคลทั้งภายนอกสถานศึกษา
ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชาชีพ บางท่านอาจเป็นผู้มีทักษะความชำนาญ ในแต่ละสาขาวิชาชีพ
บางท่านเป็นปราชญ์ชาวบ้าน บางท่านเป็นอดีตข้าราชการครูที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน บางท่านเป็นผู้นำทางศาสนาในท้องถิ่น เช่นคุณยายถาวร ปัถมา ให้ความรู้เกี่ยวกับการสานกระติ๊บข้าว
การจักตอกทำกระติ๊บข้าว คุณตาบุญโฮม ปัถมา ได้สอนวิธีการซ่อมแคน
วิธีการประกอบแคน วิธีการเป่าแคน วิธีการเก็บรักษาแคน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น